อี เค ดี รอก เครน ลิฟท์ จำหน่าย ประกอบ ออกแบบ ติดตั้ง บริการซ่อม ตรวจเช็ค
,

ข้อควรระวังในการใช้รอกและเครนไฟฟ้า!!!

  1. ห้ามผู้ที่ไม่รู้วิธีการใช้งานใช้งานรอกและเครนไฟฟ้าโดยเด็ดขาดเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุแก่ผู้ใช้งานหรือผู้อื่นและอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อรอกและเครนไฟฟ้าได้
  2. ไม่ควรใช้รอกและเครนไฟฟ้าเป็นพาหนะในการโดยสารหรือบรรทุกคน เนื่องจากรอกและเครนไฟฟ้าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการโดยสารหรือบรรทุกคนดังนั้นจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตขณะใช้งานได้
  3. ห้ามใช้รอกยกชิ้นงานให้ลักษณะลากแนวเอียงเกินมุม 4 องศา เพราะจะทำให้ชุดนำโซ่แตก ชำรุด เสียหาย ส่งผลให้ลิมิตสวิตช์ขึ้น-ลง ไม่สามารถใช้งานได้และอาจก่อให้เกิดอันตรายเมื่อใช้งาน
  4. เมื่อเกิดเสียงดังหรือระบบการทำงานของรอกและเครนไฟฟ้าผิดปกติ ให้หยุดใช้งานและกดปุ่มสวิตช์ฉุกเฉินทันที
  5. ในการใช้งานรอกไม่ควรเดินรอกหรือชิ้นงานข้ามศีรษะผู้อื่นโดยไม่มีการแจ้งเตือนหรือบอกให้ทราบก่อน เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นอันตราย
  6. ห้ามปรับแต่งอุปกรณ์รอกหรือชุดลิมิตสวิตช์ขึ้น-ลง ถี่ๆ เพราะจะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดได้ ซึ่งอาจะเกิดอันตรายและความเสียหายตามมา
  7. ไม่ควรกดสวิตช์คอนโทรลเล่นโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการกดขึ้น-ลง ถี่ๆ เพราะจะส่งผลต่อตัวมอเตอร์ทำให้มอเตอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นลง
  8. สลิงหรือเชือกที่ใช้ในการยกชิ้นงานนั้น ควรจะอยู่ในแนวดิ่งและอยู่ภายในของกระเดื่องล็อคปากตะขอ ไม่ควรอยู่ภายนอกและอยู่ในลักษณะรั้งตัวตะขอซึ่งไม่ปลอดภัย
  9. เมื่อแรงดันไฟฟ้าต่ำหรือสูงเกินกว่าปกติ หรือไฟไม่ครบเฟส เพราะจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า ชำรุดเสียหายและมีอายุกรใช้งานที่สั้นลงได้
  10. ห้ามกลับหรือสลับเฟสไฟที่จ่ายเข้าตัวรอก เพราะจะทำให้ระบบควบคุมลิมิตสวิตช์ของการทำงานขึ้น-ลงสลับกัน การทำงานจะผิดพลาดและเกิดความเสียหายกับตัวรอก เครื่องจักร และผู้ใช้งานได้
  11. ไม่ควรแกว่งหรือโยกเล่นอย่างคึกคะนอง ขณะที่รอกกำลังทำการยกชิ้นงาน เพราะอาจเกิดอันตรายได้
  12. เมื่อรอกหรือเครนไฟฟ้าเกิดความผิดปกติหรือชำรุด ควรรีบแจ้งช่างซ่อมบำรุงหรือผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซม
  13. ห้ามทำการแก้ไขหรือซ่อมแซมรอกเองเนื่องจากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  14. ไม่ควรยกหรือห้อยชิ้นงานค้างไว้โดยไม่จำเป็น
  15. ไม่ควรดึงรั้งสายสวิตช์คอนโทรลหรือห้อยโหน เพราะจะทำให้สายภายในและอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายได้ ตำแหน่งของรอกและตะขอ ควรจะอยู่ในแนวดิ่งและกึ่งกลางของชิ้นงานที่จะยก ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเหวี่ยงกระแทกขณะที่ชิ้นงานลอยขึ้นเหนือพื้น
  16. ตำแหน่งของรอกและตะขอ ควรจะอยู่ในแนวดิ่งและกึ่งกลางของชิ้นงานที่จะยก ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเหวี่ยงกระแทกขณะที่ชิ้นงานลอยขึ้นเหนือพื้น
  17. ขณะที่ใช้งานรอกและเครนผู้ที่ควบคุมการทำงานของรอกและเครนควรจดจ่ออยู่ที่ตะขอรอกและชิ้นงานตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้อื่นรวมทั้งรอกและเครื่องจักรได้
  18. ตำแหน่งของรอกและตะขอ ควรจะอยู่ในแนวดิ่งและกึ่งกลางของชิ้นงานที่จะยก ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเหวี่ยงกระแทกขณะที่ชิ้นงานลอยขึ้นเหนือพื้น
  19. เมื่อทำการยกชิ้นงานปกติควรประคองชิ้นงานไม่ให้โยกหรือแกว่งในขณะทำการเคลื่อนย้าย
  20. ห้ามยกหรือทำการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน ที่มีน้ำหนักมากหรือถูกจัดวางในลักษณะทับซ้อนกัน ในลักษณะของการกระตุกหรือกระชากกับตัวรอก เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่รอกและอุปกรณ์อื่นๆ
  21. หลีกเลี่ยงการใช้เชือกหรือสลิงยกชิ้นงานเพียงจุดเดียว ควรหิ้วรัดให้มั่นคงเพื่อเป็นการป้องกันชิ้นงานพลัดหลุดตกจากตะขอ รวมทั้งควรตรวจเช็คความเรียบร้อยของกระเดื่องล็อคปากตะขอยกด้วย
  22. ทุกครั้งที่จะยกชิ้นงาน ควรเช็คพิกัดน้ำหนักของชิ้นงานให้ถูกต้องและไม่ให้เกินพิกัดน้ำหนักยกของตัวรอก เพื่อให้รอกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดอันตรายหรือความเสียหายกับผู้ใช้งาน บุคคลอื่นๆ และเครื่องจักรสลิงของชุดตะขอรอก
  23. ไม่ควรเบียดหรือเสียดสีกับชิ้นงานหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างรอกใยขณะที่ยกใช้งาน รวมถึงควรต้องระวังการบิดหรือหักงอจากการถูกทับหรือกระแทกของชิ้นงานด้วย
  24. รอกที่ใช้งานในบริเวณที่มีไอกรดและด่างควรจะทำการเคลือบป้องกันโครงสร้างด้วยสีทนไอกรด-ด่าง และเคลือบน้ำมันหรือจารบีในส่วนในส่วนของสลิงและลูกปืนพร้อมชุดตะขอยกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสนิมเพราะอาจเกิดการชำรุดและไม่ปลอดภัยในการใช้งานได้
  25. ในกรณีที่รอกและเครนอยู่ในรางเดียวกันจำนวนหลายตัว ห้ามใช้เครนดันกันระหว่างตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะทำให้มอเตอร์ขับเคลื่อนตามแนวยาวของตัวดันช๊อตและไหม้ได้ เนื่องจากรับภาระเกินกำลังควรจะแยกและเคลื่อนย้ายเป็นแบบอิสระ
  26. เมื่อเลิกใช้งานควรเลื่อนตะขอให้อยู่ในตำแหน่งเหนือศีรษะและปิดไฟเมนทุกครั้ง
0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *